วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ดอกลีลาวดี

ดอกลีลาวดี

 



ลั่นทม เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria มีหลายชนิดด้วยกัน บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น (สำหรับชื่อภาษาอังกกฤษ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Templetree)
ลั่นทม เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า "ต้นขอม" "ดอกอม" ส่วนใหญ่ที่ปลูกกันเป็น "ลั่นทมขาว" เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม" "ลั่น" แปลว่ ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง "ธม" หมายถึง "นครธม" ภายหลัง "ลั่นธม" เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"[ต้องการอ้างอิง]
ลั่นทมเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี
ดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว และพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่[ต้องการอ้างอิง]

ความเชื่อ[แก้]

คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง]

ดอกลีลาวดี
ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก[ต้องการอ้างอิง]
ลั่นทมเป็นต้นไม้สกุล Plumeria มีถิ่นกำเหนิดในอเมริกาใต้ และถูกนำเข้ามาในดินแดนแถบนี้เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนโดยนักเดินเรือชาวเสปนหรือปอร์ตุเกส จึงไม่มีชื่อในภาษาไทย และไม่ปรากฏชื่อในวรรณกรรมโบราณ แหล่งที่มาของคำว่า ลั่นทม เข้าใจว่ามาจากภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า บูชา ทั้งนี้ ในสมัยโบราณต้นไม้ชนิดนี้นิยมปลูกในวัด จึงไม่นิยมปลูกในบ้าน
มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลั่นทมในลักษณะต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้นี้ตามหลักสากลมีชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria)

เกร็ด[

ดอกลีลาวดีเรียกอีกอย่างในภาษาลาวว่า "ดอกจำปา" และยังเป็นดอกไม้ประจำชาติลาวอีกด้วย 

ต้นลีลาวดี หรือ ลั่นทม เป็นไม้ดอกชนิดยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง เม็กซิโก แคริบเบียนและอเมริกาใต้ ในบ้านเรามีความเชื่อมาแต่โบราณว่ามีความเชื่อว่าไม่ควรปลูกต้นลั่นทมไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากมีชื่ออัปมงคล เพราะไปพ้องกับคำว่า “ระทม” ซึ่งแปลว่า ความทุกข์ใจ เศร้าโศก นั่นเอง แต่ได้มีการเปลี่ยนมาเรียกชื่อใหม่แทนซึ่งก็คือ “ลีลาวดี” โดยเป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีความหมายว่า “ดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามและอ่อนช้อย” และในปัจจุบันนี้ต้นลีลาวดีได้รับความนิยมและปลูกกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะในบ้านหรือนอกบ้านก็ตาม

ลีลาวดี ดอกลีลาวดีภาษาอังกฤษ Plumeria,FrangipaniTemple Tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plumeria spp. สำหรับชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ก็เช่น จำปาจงป่า(กาญจนบุรี), จำปาลาว (ภาคเหนือ),จำปาขาว (ภาคอีสาน), จำปาขอม (ภาคใต้), ไม้จีน (ยะลา), มอยอ (นราธิวาส), จำไป (เขมร) เป็นต้น โดยเป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายเพราะออกดอกตลอดปี เลี้ยงดูง่าย และสีของดอกลีลาวดีนั้นยังมีสีสันสดใส สวยงาม ไม่ว่าจะเป็น ขาว เหลืองอ่อน ชมพู แดง ฯลฯ ซึ่งบางดอกอาจจะมีมากกว่า 1 สีก็ได้ และดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาวอีกด้วยครับ
ประวัติดอกลีลาวดี เดิมทีแล้วต้นลั่นทมเป็นไม้ที่นำเข้ามาจากเขมร ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “ต้นขอม” เล่ากันว่ามีการนำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อครั้งไปตีนครธมจนได้รับชัยชนะ แล้วได้มีการนำต้นไม้ชนิดนี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า “ลั่นธม” โดยคำว่าลั่นนั้นแปลว่า ตีฆ้อง ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง ส่วนคำว่าธมนั้นมากจากคำว่า “นครธม” จึงเป็นที่มาของชื่อลั่นธม และเพี้ยนกลายมาเป็น “ลั่นทม” ในปัจจุบันโดยมีผู้รู้ด้านภาษาไทยได้กล่าวถึงความหมายของลั่นทมไว้ โดยมีความหมายว่า “การละแล้วซึ่งความทุกข์ความโศกเศร้าและมีความสุข” เพราะคำว่าลั่นนั้นมีหมายว่า แตกหัก ละทิ้ง ส่วนคำว่าทมก็หมายถึงความทุกข์โศก !
แต่เนื่องจากทุกส่วนของต้นลีลาวดีจะมียางสีขาวขุ่นซึ่งเป็นพิษ โดยสารที่เป็นพิษคือกรด Plumeric Acid ถ้าหากสัมผัสยางจะทำให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบบวมแดง และต้นลีลาวดีนี้กิ่งยังเปราะและหักง่ายอีกด้วย จึงไม่เหมาะที่จะปลูกไว้ในบ้านที่มีเด็กซุกซนอยู่เท่าไหร่นัก

ประโยชน์ของต้นลีลาวดี

    1. สรรพคุณของดอกลีลาวดีประโยชน์ของดอกลีลาวดีใช้ผสมกับพลู ทำเป็นยาแก้ไข้ และไข้มาลาเรีย (ดอกลีลาวดี,เปลือกต้น)
    2. ช่วยรักษาไข้หวัด (ราก)
    3. ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไอ (เนื้อไม้)
    4. ช่วยถ่ายเสมหะและโลหิต (ยางและแก่น)
    5. ช่วยขับเหงื่อ แก้ร้อนใน (ราก)
    6. ช่วยรักษาโรคหืดหอบ ด้วยการใช้ใบลีลาวดีแห้งนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม (ใบแห้ง)
    7. ยางจากต้นลีลาวดีใช้ผสมกับไม้จันทร์และการบูรทำเป็นยาแก้อาการปวดฟัน (ยางจากต้น)
    8. มีการนำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า (ต้น)
    9. ใช้ปรุงเป็นยาถ่าย (เนื้อไม้,ยางจากต้น,เปลือกราก,เปลือกต้น)
    10. ช่วยขับลมในกระเพาะ (เปลือกราก)
    11. ใช้เปลือกต้นผสมกับน้ำมันมะพร้าว มันเนย และข้าวทำเป็นยาแก้ท้องเดิน(เปลือกต้น)
    12. ใช้เปลือกต้นผสมกับน้ำมันมะพร้าว มันเนย และข้าวทำเป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกต้น)
    13. ประโยชน์ดอกลีลาวดีฝักนำมาฝนเพื่อนำมาใช้ทาแก้ริดสีดวงทวารได้ (ฝัก)
    14. ช่วยขับระดู (เปลือกต้น)
    15. ช่วยในการขับพยาธิ (เนื้อไม้)
    16. ใช้เปลือกรากปรุงเป็นยารักษาโรคหนองใน (เปลือกราก)
    17. ช่วยรักษาโรคโกโนเรีย หรือโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) (เปลือกต้น)
    18. สรรพคุณของลีลาวดีช่วยรักษากามโรค (ยางและแก่น)
    19. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ยากจากต้น,เปลือกราก)
    20. ใบสดใช้ชงกับน้ำร้อนรักษาหิด (ใบสด)
    21. ใบสดลีลาวดีลนไฟประคบร้อนช่วยแก้อาการปวด บวมได้ (ใบสด)
    22. ใช้ปรุงเป็นยาถ่ายพิษทั้งปวง (ยางและแก่น)
    23. ยางจากต้นลีลาวดีใช้ผสมกับไม้จันทร์และการบูรทำเป็นยาแก้คัน (ยางจากต้น)
    24. ดอกลีลาวดีประโยชน์ดอกลีลาวดี ใช้ทำเป็นธูป (ดอก)
    25. กลิ่นของดอกลีลาวดีช่วยทำให้นอนหลับสบาย
มีความเชื่อว่ากลิ่นของดอกลีลาวดีจะช่วยลดความรู้สึกทางเพศ เหมาะสำหรับนักบวชและผู้ฝึกตน ที่ไม่ต้องการให้กามารมณ์มากวนใจต้นลีลาวดีนิยมใช้ในการจัดสวน เพื่อตกแต่งภูมิทัศน์เป็นอย่างมาก โดยพันธุ์ที่นิยมลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้มาจากคำว่า ระทมซึ่งหมายถึงความเศร้าโศกจึงไม่เป็นที่โปรดปรานปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย แต่แท้ที่จริงแล้วมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทมแท้ที่จริงนั้นเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนชื่อมาเป็นลีลาวดีเนื่องจากความเข้าใจในภาษาคลาดเคลื่อน แต่ชื่อใหม่นั้นก็ความไพเราะสมกับท่วงท่าของลำต้น มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลีลาวดีในลักษณะต่างๆกันอย่างไรก็ตามพันธ์ไม้นี้ตามหลักสากล ได้ถูกเรียกชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วๆไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria
ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทมแท้ที่จริงนั้นเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนชื่อมาเป็นลีลาวดีเนื่องจากความเข้าใจในภาษาคลาดเคลื่อน แต่ชื่อใหม่นั้นก็ความไพเราะสมกับท่วงท่าของลำต้น มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลีลาวดีในลักษณะต่างๆกันอย่างไรก็ตามพันธ์ไม้นี้ตามหลักสากล ได้ถูกเรียกชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วๆไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria) ทำไมห้ามปลูกต้นลั่นทมในบ้าน แต่พอเปลี่ยนชื่อมาเป็นต้นลีลาวดีถึงปลูกได้ ผมได้ยินคนถามเรื่องนี้บ่อยมาก จนบางครั้งก็นึกขำว่า คนเรามักให้ความสำคัญกับชื่อต้นไม้ มากกว่าความสวยของต้นไม้ ผมเคยเจอบางคนปลูกไปแล้วตั้งนาน พอมีคนมาทักว่าห้ามปลูกในบ้านเท่านั้น วิตกกังวลจนต้องเอาต้นไม้นั้นออกจากบ้านไป

ความเป็นมงคลของต้นไม้มีหลายอย่าง เช่น ชื่อของต้นไม้ กลิ่นของต้นไม้ รูปทรงของต้นไม้ แต่ชื่อต้นไม้ดูเหมือนคนจะให้ความสำคัญมากที่สุด อย่างปลูกต้นมะยมหน้าบ้าน จะได้รับความนิยมชมชอบ ปลูกต้นขนุนหลังบ้าน บ้านจะได้รับความเกื้อหนุน เป็นต้น

“ต้นลั่นทม” ให้ความหมายถึงความทุกข์ระทม จึงไม่เป็นมงคล กลายเป็นต้นไม้ต้องห้ามไป ทั้งที่ดอกลั่นทมนั้นสวยมาก ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อต้นลั่นทมเป็นชื่อ

“ลีลาวดี” กลายเป็นต้นไม้ยอดนิยมที่มีราคาแพง และนิยมเอามาจัดสวนในบ้านกัน

“แล้วในทางฮวงจุ้ยว่ายังไง..?”
เรื่องของต้นไม้ในทางฮวงจุ้ย จะมีการกล่าวห้ามเอาไว้ถึงความไม่เป็นมงคลอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ 
1. ต้นไม้ที่มีหนามแหลมคม เหตุผลที่ตำราห้ามเอาไว้อย่างนั้น ก็เพราะ หนาม แหลมของต้นไม้ อาจจะเกี่ยวคนเดินผ่านไปมาในบ้านได้ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กๆ นอกจากนี้ เวลาต้นไม้เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ จะเคลื่อนย้าย หรือตัดกิ่งของต้นไม้ค่อนข้างจะยากที่จะไม่โดยหนามเกี่ยว แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า ต้นไม้อย่าง เฟื่องฟ้า โป๊ยเซียน ที่คนนิยมนำมาปลูกใน บ้าน ทำไมถึงไม่ห้าม ทั้งๆที่มีแหลมคม เหตุผลก็เพราะ ชื่อของต้นไม้เป็นมงคล นั่นเอง และต้นเฟื่องฟ้าส่วนใหญ่จะนิยมปลูกริมรั้วหรือกำแพง ซึ่งกลับเป็นผลดีในแง่ของการป้องกัน สิ่งไม่ดีเข้าบ้านได้อีกด้วย

2. ต้นไม้ใหญ่ เหตุผล ก็คือ ต้นไม้ใหญ่จะทำลายฐานบ้าน และกิ่งก้านของต้นไม้ยังทำลายตัวบ้านอีกด้วยเพราะฉะนั้น บ้านที่มีขนาดเล็กจึงไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ในบ้าน ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหา ก็เพราะ ตอนแต่งสวนใหม่ๆ ต้นไม้ยังไม่ทันโตเต็มที่ เวลาผ่านไป 3 ปี ต้นไม้สูงเท่าบ้านแล้ว เรื่องนี้มักจะพบเห็นกันบ่อยๆ ปัญหาที่ตามมานอกจากจะกระทบบ้านตัวเองแล้ว ยังกระทบบ้านที่อยู่ติดกันอีก เพราะต้นไม้จะล้ำเข้าไปในบ้านคนอื่น ใบไม้ร่วงเกลื่อน ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจกัน คนที่ผิดใจกันเพราะต้นไม้มีให้เห็นกันนักต่อนักแล้ว

หลักฮวงจุ้ยจะพูดถึงต้นไม้เอาไว้แค่นี้ เพราะฉะนั้น เรื่องต้นลั่นทม หรือลีลาวดี ก็คงไม่เกี่ยวกับฮวงจุ้ยโดยตรง เพราะเป็นเพียงแค่ชื่อมงคล หรือไม่เป็นมงคลเท่านั้น… 
ชนิดของลีลาวดี
แบ่งลักษณะของชนิด เป็น ๗ ลักษณะ ตามแหล่งดั้งเดิมของที่มา แล้วตั้งชื่อดังต่อไปนี้
1.พลูมมีเรีย อินโนโดรา แหล่งเดิมมาจากประเทศ โคลัมเบีย และ บิตริสกีนา 
2. พลูมมีเรีย พูดิกา ประเทศ โคลัมเบีย เวเนซูเอลา และ มาตินิค

3.พลูมมีเรีย รูบรา ประเทศ ใน อเมริกากลาง
4.พลูมมีเรีย ซับเซสซิลิส ประเทศ ฮิสปานิโอลา
5.พลูมมีเรีย ออบทูซ่า หมู่เกาะบาฮามัส ประเทศ คิวบา จาไมกา ฮิสปานิโอลา ปอร์โตริโก บริติสฮอนดูรัส
6.พลูมมีเรีย ฟิลิโฟเลีย ประเทศ คิวบา
7.พลูมมีเรีย อัลบา ประเทค ปอร์โตริโก เวอร์จินไอแลนด์ส และ เลสเซอร์ เอนทิเลส
เมื่อพูดถึงลีลาวดีแคระ คนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของลีลาวดีอาจนึกภาพไปถึงลีลาวดีต้นสวย ดอกเป็นช่อ ส่งกลิ่นกลิ่นหอมฟุ้ง ที่ถูกย่อส่วนลงมาอยู่ในกระถางใบเล็ก ให้คนที่มีเนื้อที่บริเวณบ้านอันจำกัดสามารถนำมาปลูกเลี้ยงไว้ชื่นชมได้โดยไม่เบียดบังเนื้อที่ใช้สอยภายในบริเวณบ้านมากนัก.....

แต่ในความเป็นจริง ลีลาวดีแคระในความหมายของผู้ปลูกเลี้ยงและนักสะสมลีลาวดีนั้น นอกจากหมายถึงลีลาวดีต้นเล็กแคระแกรนกว่าปกติมากๆแล้ว ยังหมายรวมถึงลีลาวดีที่มีขนาดเล็กกว่าต้นปกติไม่มากนักด้วย แต่ไม้กลุ่มนี้จะต้องมีใบที่หนาแข็ง ยับย่น หรือเล็กกว่าปกติด้วย ทั้งที่จริงแล้วลีลาวดีในกลุ่มนี้ควรจัดอยู่ในกลุ่มของไม้คอมแพค มากกว่าที่จะเป็นไม้แคระ....
 ลีลาวดีแคระต้นแรกที่เกิดขึ้นในวงการลีลาวดี น่าจะเป็นลีลาวดีที่ชื่อ Dwarf singapore pink ซึ่งเป็นลีลาวดีที่มีลักษณะใบหนาแข็ง มีช่วงกิ่งที่สั้น และข้อกิ่งถี่มากจนแทบจะกลายเป็นไม้พุ่มเตี้ยเพราะมีขนาดต้นสูงเต็มที่เพียง2เมตรเศษๆ จากชื่อที่พ่วงไว้ด้วยคำว่า Dwarf นี่เองที่อาจกลายมาเป็นบรรทัดฐานของลีลาวดีแคระในบ้านเรา ช่วงประมาณปี46-48 เมื่อลีลาวดีได้รับความนิยมสูงขึ้นจนมีราคาขึ้นสูงไปถึงหลักหมื่น หลักแสน ลีลาวดีแคระกลายเป็นสิ่งที่ผู้ชื่นชอบลีลาวดีแต่มีพื้นที่ปลูกเลี้ยงจำกัดล้วนเสาะแสวงหา ลีลาวดีที่มีใบหนาแข็งทั้งหลายจึงถูกเหมารวมให้เป็นลีลาวดีแคระเพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายในทันที เพราะสมัยนั้นลีลาวดีพันธุ์ใหม่ๆจะขายกันในแบบต้นเสียบยอดหรือเสียบท่อนขนาดเล็ก ลีลาวดีแคระบางต้นแค่เสียบท่อนขนาด1นิ้ว แทงใบแรกออกมาให้เห็นว่าหนา แข็ง เล็ก เท่านั้นเองราคาอาจจะอยู่ในหลักพัน ทั้งที่ยังไม่เห็นดอกหรือฟอร์มต้น เพราะช่วงนั้นใครไวใครได้ ถ้าตัดสินใจช้าคนอื่นก็คว้าไปกิน จึงมีหลายคนที่อกหักกับไม้ที่ชื่อ"ลีลาวดี" และมีอีกหลายคนที่ร่ำรวยเป็นเศรษฐีย่อยๆกับไม้ที่ชื่อ"ลีลาวดี"เช่นกัน....
ลีลาวดีแคระเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ทั้งโดยธรรมชาติ และการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยมนุษย์ด้วยการฉายรังสี หรือการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีอื่นๆ การเกิดลีลาวดีแคระตามธรรมชาตินั้น ผู้เพาะเลี้ยงที่ชำนาญมักจะใช้เมล็ดของลีลาวดีกลุ่ม obtusa หรือพวกลีลาวดีพันธุ์ขาวพวง มาเพาะเพื่อคัดเลือกเอาลูกไม้ที่แคระแกรนออกมาดูฟอร์มต้นฟอร์มใบหรือแม้กระทั่งดอก แต่ในการเพาะเมล็ดแต่ละครั้งอาจได้หรือไม่ได้ไม้ที่มีลักษณะแคระแกรนเลยก็ได้ เพราะฝักของลีลาวดีขาวพวงนั้นจะมีเมล็ดที่สมบูรณ์เพียงไม่กี่เมล็ด และโอกาสที่จะได้ลูกไม้ออกมาเหมือนแม่คือมีต้นขนาดใหญ่นั้นก็มีสูง หรือหากได้ต้นที่แคระแกรนออกมาแต่ไม่มีความต่างจากลีลาวดีแคระเดิมๆที่มีอยู่แล้วก็ถือว่าแค่เสมอตัว ไม่สามารถตั้งขึ้นมาเป็นสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ลีลาวดีแคระจึงยังถือว่าเป็นไม้ที่หายาก และมีสายพันธุ์ที่สวยๆอยู่ไม่มากนักในวงการลีลาวดีโลก ที่สำคัญประเทศที่มีลีลาวดีสายพันธุ์แคระมากที่สุดก็คือประเทศไทยเรานี่เองครับ....
ลีลาวดีแคระที่ถือว่าแคระ สวย และดูแลยากที่สุดเห็นจะเป็นตัวที่ชื่อ แคระบันลือ เพราะหากเราเลี้ยงแบบปล่อยปละละเลย ไม่ให้ปุ๋ยไม่รดน้ำมันจะแตกกิ่งจนเป็นพุ่มและไม่ให้ดอก(กรณีนี้อาจจะสูงแต่ฟุตเดียว) แล้วก็อาจจะเน่าตายไปจากใบแห้งที่ร่วงลงไปสะสมตามซอกกิ่ง....

คระบันลือจัดว่าเป็นลีลาวดีแคระที่สวยมากตัวหนึ่ง มีใบหนา แข็ง ขนาดเล็กปลายใบกลมมนเหมือนลีลาวดีพันธุ์ขาวพวง แถมดอกก็เหมือนขาวพวงแต่มีขนาดที่เล็กกว่า มีกลิ่นหอมไม่แพ้ใคร แต่มักจะไม่ค่อยได้ช่อ หากจะเลี้ยงแคระบันลือให้สวยและได้ดอกอย่างสม่ำเสมอ จะต้องมีการให้ปุ๋ยและพรางแสงช่วงเที่ยงวัน-บ่ายให้บ้าง ไม้จะโตซักหน่อย(สูงราว1-1.5เมตร) แต่จะไม่แตกกิ่งมากและให้ดอกได้อย่างสม่ำเสมอ....
ลีลาวดีแคระที่มีลักษณะดี คือต้นเตี้ย ใบหนาสวย ให้ดอกได้ และมีกลิ่นหอม มีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ แต่ก็จะมีข้อติที่สีของดอกยังค่อนข้างจำกัดอยู่ที่ ขาว-เหลือง และโทนชมพูอ่อน ทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมักจะมองความสวยงามของมันแค่ที่ใบและทรงต้น จนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่ได้ลีลาวดีแคระที่มีดอกสีสดๆไว้ประดับวงการ นักพัฒนาสายพันธุ์หลายคนพยายามปลูกเก็บเมล็ดของขาวพวงที่ปลูกร่วมแปลงกับไม้สีที่มีดอกสีเข้มอย่างแดงสยาม แต่ก็ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะไม้ที่ออกมาแม้จะมีดอกสีเข้มขึ้น แต่กิ่งของลูกไม้ที่ได้ก็ยังคงไม่สั้นกระชับเหมือนไม้แคระในอุดมคติอยู่ดี....
ลูกไม้ต้นนั้นจึงยังไม่ถูกตั้งชื่อและยังไม่ได้มีการจำหน่ายอย่างแพร่หลาย แต่ก็นับได้ว่าไม้ต้นนี้มีลักษณะของไม่แคระอยู่บ้างแม้จะไม่ใช่แคระแท้ๆแบบแคระบันลือ แต่ก็ไม่แพ้ Dwarf singapore pink ไม้แคระต้นแรกของโลกแต่อย่างใด 

1 ความคิดเห็น: